โปรตีนที่พบในเนื้อสัตว์เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคข้ออักเสบ

โปรตีนที่พบในเนื้อสัตว์เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคข้ออักเสบ

การศึกษาใหม่ที่น่าสนใจได้เผยให้เห็นว่า โปรตีนทริปโตเฟน ซึ่งพบมากในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม สามารถเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคข้ออักเสบได้อย่างไร

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Clinical Investigation (JCI) พบว่า เมื่อแบคทีเรียในลำไส้สลายทริปโตเฟน จะทำให้เกิดสารประกอบที่กระตุ้นการตอบสนองการอักเสบ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบ

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้น ส่งผลกระทบต่อประชากรมากถึงร้อยละ 1 โดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ก่อให้เกิดอาการบวมที่มือ เท้า และข้อต่ออย่างเจ็บปวด หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ได้

ผู้ร่วมเขียนการศึกษากล่าวว่า “ไมโครไบโอม ซึ่งเป็นแบคทีเรียในลำไส้ของเรา สามารถสลายทริปโตเฟนเป็นผลพลอยได้” โดยบางผลพลอยได้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ แต่เราก็ยังเกี่ยวข้องกับสาเหตุการอักเสบของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นด้วย

จากการศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า การปรับเปลี่ยนแหล่งโปรตีนในอาหารอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคข้ออักเสบได้ในอนาคต

อาหารที่อุดมด้วย “เส้นใยจากพืช” อาจช่วยได้

plant-based protein
การรับประทานอาหารพืชหลักช่วยผลักดันให้ไมโครไบโอมอยู่ในสภาพที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

ทริปโตเฟนเป็นกรดอะมิโนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนสูง โดยส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์นม รวมถึงอาหารจากพืชบางชนิด เช่น ถั่ว เมล็ดพืช และพืชตระกูลถั่ว

ร่างกายของเราไม่สามารถผลิตทริปโตเฟนเอง แต่ต้องการเพื่อใช้ในการสร้างเมลาโทนิน (ซึ่งส่งผลดีต่อการนอนหลับ) และเซโรโทนิน (ซึ่งส่งผลต่อความเจ็บปวด ความเป็นอยู่ที่ดี และความต้องการทางเพศ)

การศึกษาใหม่ได้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อร่างกายย่อยสลายทริปโตเฟน จะเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ แต่ในทางกลับกันก็มีผลิตภัณฑ์อื่นที่สร้างความอักเสบจากแบคทีเรียในลำไส้ด้วย

Kuhn ผู้ร่วมเขียนการศึกษากล่าวว่า คำถามสำคัญคือ “จะทำอย่างไรให้สมดุลระหว่างทริปโตเฟนที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ และผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ” โดยเสนอว่า การรับประทานอาหารพืชหลัก เช่น อาหารมีเดดิเตอร์เรเนียน อาจช่วยผลักดันให้ไมโครไบโอมอยู่ในสภาพที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

ในขณะที่การศึกษาของ Kuhn เป็นแนวทางใหม่ แต่ก็มีงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่เชื่อมโยงการรับประทานเนื้อสัตว์กับโรคข้ออักเสบ และกลับพบว่าการรับประทานอาหารจากพืชช่วยลดความเสี่ยงของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ แม้ว่าเรื่องนี้จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

Source: https://plantbasednews.org/lifestyle/health/protein-in-meat-linked-arthritis

ส่งต่อให้เพื่อนเรา

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top